2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล


 การเก็บรวบรวมข้อมูล



การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง  กระบวนการที่จะได้ข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์การศึกษาในงานนั้น ๆ  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล  และการรวบรวมข้อมูล  การเก็บข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและ ปฐมภูมิ  โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์  การสำรวจ  การสังเกต การกรอกแบบสอบถาม  รายงานและเอกสารต่าง ๆ
                ในปัจจุบันแหล่งขข้อมูลทุติยภูมิมีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และอยู่ในหลากหลายรูปแบบ (format) ในการนำไปใช้งานอาจมีวิธีจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่เผยแพร่ ดังต่อไปนี้
    
1. ไฟล์ ไฟล์ที่มีนามสกุล xls, xlsx หรือ odp เป็นไฟล์ที่ได้จากโปรแกรมตารางทำงาน หรือนามสกุล csv เป็นไฟล์ข้อความ โดยไฟล์เหล่านี้สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม ส่วนไฟล์ pdf สามารถดาวน์โหลดได้ แต่นำข้อมูลไปใช้งานต่อได้ยาก 
    นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่อยู่ในรุปแบบที่ต้องเขียนโปรแกรมในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เช่น ถ้าต้องการใช้ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ จะต้องเขียนโปรแกรมผ่านวิธีการเชื่อมต่อเฉพาะ (API : Application Programming Interface) เพื่อเรียกค้นหาข้อมูลไปใช้ ซึ่งโปรแกรมนี้อาจจะเขียนขึ้นเองหรือใช้โปรแกรมที่มีผู้อื่นเขียนไว้แล้ว

2. รายงานหรือตารางบนเว็บไซต์  โดยทั่วไปจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการสรุปมาแล้ว และไม่มีข้อมูลดิบประกอบ ทำให้ยากในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในประเด็นอื่น เช่น ข้อมูลสรุปจำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้บาดเจ็บ แต่ไม่มีรายละเอียดของแต่ละบุคคล ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ถึงช่วงวัยของผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่

 แหล่งที่มาของข้อมูล

          แหล่งข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคคล เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้กรอกแบบสอบถาม บุคคลที่ถูกสังเกต เอกสารทุกประเภท และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึง ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ ก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลได้ทั้งสิ้น โดยทั่วไปสามารถจัดประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาได้ ประเภท คือ

          1) ข้อมูลปฐมภูมิ ( Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ การเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ แต่มีข้อเสียตรงที่สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจมีคุณภาพไม่ดีพอ หากเกิดความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลภาคสนาม

            2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน และเอกสารทุกประเภท ช่วยให้ผู้วิจัยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลากับการเก็บข้อมูลใหม่ และสามารถศึกษาย้อนหลังได้ ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา และปัญหาเรื่องความ น่าเชื่อถือของข้อมูล ก่อนจะนำไปใช้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นในบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ตัวอย่าง เว็บไซต์ data.go.th


การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล

1.ความทันสมัยของข้อมูล (Currency) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเผยแพร่เมื่อใด ปรับปรุงเมื่อใด
2.ความสอดคล้องกับการใช้งาน (relevance) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่
3.ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (authority) พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ผู้เผยแพร่มีความชำนาญพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ สามารถติดต่อผู้เผยแพร่ได้หรือไม่
4.ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ตรวจสอบความถูกต้องพื้นฐานของข้อมูล ว่ามีการนำไปอ้างอิงที่อื่นหรือไม่ หรือมีการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหรือไม่
5.จุดมุ่งงหมายของแหล่งข้อมูล (purpose) ตรวจสอบว่าข้อมูลดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป้าหมายใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น