4.2 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ

 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ



             ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของตารางที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เป็นปริมาณมาก แม้ว่าข้อมูลนั้นสามารถตอบข้อสงสัย หรือนำเสนอสิ่งที่สนใจได้ แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจ หรือเป็นอุปสรรคในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ดังนั้น 

การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ (data visualization) สามารถช่วยตอบคำถาม หรือนำเสนอประเด็กต่างๆ ได้รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น

แผนภูมิรูปวงกลม (Pie Chart) สร้างโดยการเขียนรูปวงกลมและแบ่งวงกลมออกเป็นสัดส่วนตามจำนวนข้อมูล ซึ่งควรเป็นจำนวนข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนัก



แผนภูมิรูปโดนัท (Doughnut Chart) สร้างโดยการนำแผนภูมิรูปวงกลมมาวางซ้อนกัน ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนได้เป็นอย่างดี

แผนภูมิแท่ง (Bar Chart)  แสดงความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ชัดเจน ใช้แสดงปริมาณข้อมูลแต่ละส่วน

กราฟเส้น (Line Graph) แสดงมิติของการเปลี่ยนแปลงได้ดี โดยใช้พื้นที่แสดงข้อมูลแต่ละรายการน้อยกว่าแผนภูมิแท่ง ทำให้เสนอจำนวนรายการข้อมากได้มากกว่า


แผนภาพการกระจาย (Scatter Plot) แสดงการกระจายของข้อมูล การเปรียบเทียบได้ดี รวมถึงทำให้เห็นแนวโน้มของความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ประเภทที่สนใจได้

การเลือกใช้แผนภาพให้เหมาะสมกับข้อมูล ต้องทำความเข้าใจลักษณะของข้อมูลและจุดประสงค์ในการนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

ชนิดของแผนภาพจุดประสงค์ของการนำเสนอ
แผนภูมิรูปวงกลมแสดงสัดส่วนของข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนัก
แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบปริมาณข้อมูลแต่ละรายการ
กราฟเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่มีความต่อเนื่อง
แผนภาพการกระจายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด

ตารางสรุปการเลือกใช้แผนภาพแต่ละชนิดตามความเหมาะสมของข้อมูล และจุดประสงค์ในการนำเสนอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น