4.3 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม

 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม

     การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการใช้รูปแบบมาตรฐานที่กล่าวมาเท่านั้น ยังสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ ให้น่าสนใจได้อีก โดยอาศัยการนำเสนอข้อมูลให้เป็นภาพ ตามหลักการมองเห็นและการรับรู้ของจาคส์ เบอร์ติน (Jacques Bertin) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Information Visualization) โดยกำหนดตัวแปรในการมองเห็น (Visual Variables) ไว้ 7 อย่าง ได้แก่ 1. ตำแหน่ง 2.ขนาด 3.รูปร่าง 4.ความเข้ม 5.สี 6.ทิศทาง 7. ลวดลาย


ตัวแปรในการมองเห็นของจาคส์ เบอร์ติน

การเลือกใช้ตัวแปรในการมองเห็นเพื่อสร้างภาพจากข้อมูล จะใช้ลักษณะเฉพาะ (Characteristic) ที่ต้องการเน้น ได้แก่ การสร้างความโดดเด่น (Selective), การจัดกลุ่ม (Associative), การบ่งปริมาณ (Quantitative) และการแสดงลำดับ (Order)

การสร้างความโดดเด่น (Selective) ทำให้ผู้รับสารมุ่งตรงไปยังข้อมูลที่ต้องการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้สีในการจำแนกกลุ่ม




การจัดกลุ่มข้อมูล (Associative) แสดงการแบ่งกลุ่มของข้อมูล เช่น การใช้สีเพื่อบ่งบอกลักษณะร่วมกันในกลุ่มข้อมูลที่แตกต่างกัน


การบ่งปริมาณ (Quantitative) แสดงข้อมูลในเชิงปริมาณอย่างชัดเจนจากการใช้ขนาด ความเข้ม-อ่อนของสี เช่น การใช้ขนาดหรือการใช้สีเข้ม-อ่อนเพื่อบ่งบอกปริมาณที่แตกต่างกัน
การแสดงลำดับ (Order) แสดงข้อมูลเรียงลำดับจากน้อยไปมาก(หรือมากไปน้อย) ก่อน-หลัง โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาหรือบนลงล่าง การใช้สีอ่อนไปเข้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น